เผยแพร่งานวิจัยปี2562
ชื่อเรื่อง : การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบกลุ่มเพื่อน
ช่วยเพื่อน รายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1/2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา
ผู้วิจัย : นายพิเชษฐ์ ขุนบำรุง
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1/2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา โดยผู้วิจัยเลือกกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1/2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบ การเรียนรู้ มีลักษณะเป็นข้อคำถามชนิดเลือกตอบ (Multiple choice) 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง ผ่านระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง จำนวน 30 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 สำหรับข้อมูลที่ได้นำมาทำการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel ในการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test
ผลการวิจัยดังนี้
1. การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ สัมประสิทธิ์ การกระจายของคะแนนสอบ (C.V.) พบว่า
คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เท่ากับ 8.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) เท่ากับ 1.68 และคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 14.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) เท่ากับ 2.07 ผลการเปรียบเทียบ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน การกระจายของคะแนนหลังเรียนต่ำกว่าก่อนเรียน และ เมื่อพิจารณา
ค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจายหลังเรียน (The Coefficient of Variation : C.V.) ปรากฏว่า ได้ค่า C.V. = 17.21 อยู่ในเกณฑ์ดี แสดงว่านักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
2. ค่าสถิติในการทดสอบสมมุติฐานใช้การแจกแจงแบบที (t-test) กรณีมีความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยจากประชากรกลุ่มเดียว แต่จะทำการทดสอบ 2 ครั้ง (Paired-Samples Test) พบว่า
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
แบบตอบรับการเผยแพร่งานวิจัย แบบออนไลน์ : https://forms.gle/PmrjfSscciU7D976A