จำนวนผู้เข้าชม

227072
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
143
44
191
226656
235
720
227072

Your IP: 3.133.112.201
2025-02-05 07:40

Login Form

เผยแพร่งานวิจัยปี2565

ชื่อโครงงาน       ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตและการเพิ่มจำนวนของ Anabeana ในแหนแดงเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพาะเลี้ยงแหนแดง

ผู้จัดทำ           นางสาวธนพร แก้วประเสริฐ  นางสาวนํ้าทิพย์ นวลเพชร นางสาวลลิดา กมล

ที่ปรึกษา          นางสุพัตรา  เพ็ชรมณี  นางละอองดาว เสนะพันธุ์ นายสราวุธ  จินดาเพ็ชร  

หน่วยงาน        แผนกวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ  วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา

ปี พ.ศ.            2565

 

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตและการเพิ่มจำนวนของ Anabeana ในแหนแดงเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพาะเลี้ยงแหนแดง โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 กิจกรรมดังนี้ ได้แก่ 1) ศึกษาความเข้มข้นของชนิดสารน้ำหมักในการเพาะเลี้ยงแหนแดงและการเพิ่มจำนวนของ Anabeana ในแหนแดง 2) ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของแหนแดงและเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพาะเลี้ยงแหนแดง 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์การเพาะเลี้ยงแหนแดง โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่มีความสนใจในการเพาะแหนแดงในจังหวัดสงขลา จำนวน 15 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ชนิดสารน้ำหมักและความเข้มข้นมีความเหมาะสมที่แตกต่างกันสำหรับการเพาะเลี้ยงแหนแดงให้เจริญเติบโต พบว่าสารน้ำหมักใบกระถิ่น ความเข้มข้น 10 %  มีค่า pH วัดได้ 4.24 วัดค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตเมื่อเลี้ยงครบ 14 วัน ค่าเฉลี่ยน้ำหนักสด 255 กรัม และพบว่าสารน้ำหมักปลาเป็ดความเข้มข้นที่เหมาะสมคือ 20 % มีค่า pH วัดได้ 4.67 การเจริญเติบโตเมื่อเลี้ยงครบ 14 วัน ค่าเฉลี่ยน้ำหนักสด 280 กรัม และสารน้ำหมักฟักทองความเข้มข้น 20 %  มีค่า pH วัดได้ 5.10 ค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตเมื่อเลี้ยงครบ 14 วัน ค่าเฉลี่ยน้ำหนักสด 277 กรัม ส่วนน้ำหมักน้ำซาวข้าว พบว่าแหนแดงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เมื่อนำน้ำหมักแต่ละชนิดผสมในอัตราส่วนที่ต่างกันพบว่ามีผลทำให้แหนแดงมีการเจริญเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราส่วนที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเพาะเลี้ยงแหนแดงคือน้ำหมักใบกระถิ่น 10 % น้ำหมักปลาเป็ด 20% น้ำหมักฝักทอง 20% มีค่า PH 5.80 พบว่าน้ำหนักสดของแหนแดงเมื่อเลี้ยงครบ 14 วันมีค่าเฉลี่ย 358 กรัมขณะเดียวกันเมื่อนำมาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่า Anabeana ในโพรงใบแหนแดงมีจำนวนเซลล์ที่หนาแน่นกว่าเมื่อเทียบกับเซลล์อื่น เมื่อนำไปวิเคราะห์ผลธาตุอาหาร ไนโตรเจน พบค่าเปอร์เซ็นของน้ำหนักแห้ง คือ 3.60 % ความพึงพอใจของผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับระดับมากที่สุด  (=4.66 )

  

วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา 74 ถ.รามวิถี ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา 90000

โทร : 074-311202 , Fax : 074-313512
Copyright © 2014. All Rights Reserved.