เผยแพร่งานวิจัยปี2566
ชื่อโครงงาน การศึกษาสูตรการเตรียมวัสดุเพาะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลการใช้ไดโอดเปล่งแสงต่อระยะเก็บเกี่ยวต้นอ่อนถั่วลันเตา (โต๊วเหมี่ยว)
ชื่อผู้จัดทำ 1.นายพักตร์ปกรณ์ เจ๊ะพงค์ 2.นางสาวรวิภา คงนวล 3.นางสาวเจนจิรา ดวงแก้ว
4.นางสาวสุธิมา สุวรรณเรือง 5.นางสาวเกื้อทิพย์ จีนปาน
ครูที่ปรึกษา นางสุพัตรา เพ็ชรมณี นางละอองดาว เสนะพันธุ์ นางพรรณรัตน์ รอดคล้าย
ปีที่จัดทำปีการศึกษา 2566
สถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา
บทคัดย่อ
การศึกษาสูตรการเตรียมวัสดุเพาะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลการใช้ไดโอดเปล่งแสงต่อระยะเก็บเกี่ยวต้นอ่อนถั่วลันเตา (โต๊วเหมี่ยว) วางการทดลองแบบ Completely Randondom Design ( CRD) พบว่าผลการศึกษาระยะเวลาในการแช่น้ำของเมล็ดที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดในวัสดุต่างกัน คือ 5 ชั่วโมงของวัสดุเพาะขี้เลื้อย ค่าเฉลี่ยอัตราการงอกของต้นอ่อนดีที่สุดคือ 36.00 ต้นจากจำนวนเมล็ด 40 เมล็ดและมีน้ำหนักสดของต้นอ่อนมากที่สุด 11.12 กรัม และสูตรการเตรียมวัสดุเพาะสำหรับการเจริญเติบโตของต้นอ่อนถั่วลันเตา พบว่าสูตรที่ 5 มี อัตราส่วนของส่วนผสมขี้เลื้อย 25 กรัม มูลไส้เดือนดิน 25 กรัม แกลบดำ 25 กรัม และBacillus subtilis 20W16 50 มิลลิลิตร มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักสดของต้นอ่อนถั่วลันเตามากที่สุดคือ 14.15 กรัม มีค่าเฉลี่ยความยาวของลำต้น 12.23 เซนติเมตร เมื่อนำต้นอ่อน หลังงอก 5 วันให้แสงด้วยไดโอดแสงสีม่วง 9 วัตต์ ในวันที่ 6 เป็นเวลา 16 ชั่วโมง ระดับความสูงระยะ 30 ซม.ใบต้นอ่อนจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวในวันที่ 7 ร้อยละ100 มีค่าเฉลี่ยความยาวของต้น 13.85 ซม. มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักสด 18.75 กรัมและวัดค่า PPFD 7.2 (μmol/m2/s) ต่อพื้นที่ปลูก และเมื่อไปตรวจวิเคราะห์ค่าฟีนอลิกพบ 54.34 mGAE/g